About Intellectual Property IP Training Respect for IP IP Outreach IP for… IP and... IP in... Patent & Technology Information Trademark Information Industrial Design Information Geographical Indication Information Plant Variety Information (UPOV) IP Laws, Treaties & Judgements IP Resources IP Reports Patent Protection Trademark Protection Industrial Design Protection Geographical Indication Protection Plant Variety Protection (UPOV) IP Dispute Resolution IP Office Business Solutions Paying for IP Services Negotiation & Decision-Making Development Cooperation Innovation Support Public-Private Partnerships AI Tools & Services The Organization Working with WIPO Accountability Patents Trademarks Industrial Designs Geographical Indications Copyright Trade Secrets WIPO Academy Workshops & Seminars IP Enforcement WIPO ALERT Raising Awareness World IP Day WIPO Magazine Case Studies & Success Stories IP News WIPO Awards Business Universities Indigenous Peoples Judiciaries Genetic Resources, Traditional Knowledge and Traditional Cultural Expressions Economics Gender Equality Global Health Climate Change Competition Policy Sustainable Development Goals Frontier Technologies Mobile Applications Sports Tourism PATENTSCOPE Patent Analytics International Patent Classification ARDI – Research for Innovation ASPI – Specialized Patent Information Global Brand Database Madrid Monitor Article 6ter Express Database Nice Classification Vienna Classification Global Design Database International Designs Bulletin Hague Express Database Locarno Classification Lisbon Express Database Global Brand Database for GIs PLUTO Plant Variety Database GENIE Database WIPO-Administered Treaties WIPO Lex - IP Laws, Treaties & Judgments WIPO Standards IP Statistics WIPO Pearl (Terminology) WIPO Publications Country IP Profiles WIPO Knowledge Center WIPO Technology Trends Global Innovation Index World Intellectual Property Report PCT – The International Patent System ePCT Budapest – The International Microorganism Deposit System Madrid – The International Trademark System eMadrid Article 6ter (armorial bearings, flags, state emblems) Hague – The International Design System eHague Lisbon – The International System of Appellations of Origin and Geographical Indications eLisbon UPOV PRISMA UPOV e-PVP Administration UPOV e-PVP DUS Exchange Mediation Arbitration Expert Determination Domain Name Disputes Centralized Access to Search and Examination (CASE) Digital Access Service (DAS) WIPO Pay Current Account at WIPO WIPO Assemblies Standing Committees Calendar of Meetings WIPO Webcast WIPO Official Documents Development Agenda Technical Assistance IP Training Institutions COVID-19 Support National IP Strategies Policy & Legislative Advice Cooperation Hub Technology and Innovation Support Centers (TISC) Technology Transfer Inventor Assistance Program WIPO GREEN WIPO's Pat-INFORMED Accessible Books Consortium WIPO for Creators WIPO Translate Speech-to-Text Classification Assistant Member States Observers Director General Activities by Unit External Offices Job Vacancies Procurement Results & Budget Financial Reporting Oversight
Arabic English Spanish French Russian Chinese
Laws Treaties Judgments Browse By Jurisdiction

Thailand

TH035

Back

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘



หน้า ๑๔ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๓)

พ.ศ. ๒๕๕๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘

เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ ให้ ใช้บัง คับเ ม่ือพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๒๘/๑ การทําซ้ําโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์

อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในโรงภาพยนตร์ตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ไม่ว่าทั้งหมด หรือแต่บางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ ให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และมิให้นํามาตรา ๓๒ วรรคสอง (๒) มาใช้บังคับ”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๙) ของวรรคสองของมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

หน้า ๑๕ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

“(๙) ทําซ้ํา หรือดัดแปลง เพื่อประโยชน์ของคนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ อันเนื่องมาจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่น ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยต้องไม่เป็นการกระทําเพื่อหากําไร ทั้งนี้ รูปแบบของการทําซ้ําหรือดัดแปลง ตามความจําเป็นของคนพิการและองค์กรผู้จัดทํารวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการเพื่อทําซ้ํา หรือดัดแปลงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา”

มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๖๙/๑ ผู้ใดกระทําการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๘/๑ ต้องระวางโทษจําคุก

ตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

หน้า ๑๖ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับน้ี คือ เน่ืองจากปัจจุบันมีปัญหาการทําซ้ํา โดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ทั้งภาพยนตร์ไทย และภาพยนตร์ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วนําไปทําซ้ําในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นซีดี หรือแผ่นดีวีดี เป็นต้น ออกจําหน่าย สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์และธุรกิจที่เก่ียวเน่ืองเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธ์ิตามปกติของเจ้าของลิขสิทธ์ิหรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ และอาศัยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธ์ิตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธ์ิในปัจจุบัน โดยอ้างว่าเป็นการทําซ้ําเพ่ือประโยชน์ ของตนเอง จึงสมควรแก้ไขเพ่ิมเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ิ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยกําหนดให้การกระทําละเมิดลิขสิทธ์ิ ในลักษณะดังกล่าวเป็นความผิดเฉพาะ และมีอัตราโทษเช่นเดียวกับการกระทําละเมิดลิขสิทธ์ิเพ่ือการค้า นอกจากนี้ สมควรกําหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธ์ิเพ่ิมเติม เพ่ือประโยชน์ของคนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางสติปัญญา และคนพิการประเภทอ่ืนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาที่จะสามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธ์ิได้ ตามความจําเป็น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติน้ี