À propos de la propriété intellectuelle Formation en propriété intellectuelle Respect de la propriété intellectuelle Sensibilisation à la propriété intellectuelle La propriété intellectuelle pour… Propriété intellectuelle et… Propriété intellectuelle et… Information relative aux brevets et à la technologie Information en matière de marques Information en matière de dessins et modèles industriels Information en matière d’indications géographiques Information en matière de protection des obtentions végétales (UPOV) Lois, traités et jugements dans le domaine de la propriété intellectuelle Ressources relatives à la propriété intellectuelle Rapports sur la propriété intellectuelle Protection des brevets Protection des marques Protection des dessins et modèles industriels Protection des indications géographiques Protection des obtentions végétales (UPOV) Règlement extrajudiciaire des litiges Solutions opérationnelles à l’intention des offices de propriété intellectuelle Paiement de services de propriété intellectuelle Décisions et négociations Coopération en matière de développement Appui à l’innovation Partenariats public-privé Outils et services en matière d’intelligence artificielle L’Organisation Travailler avec nous Responsabilité Brevets Marques Dessins et modèles industriels Indications géographiques Droit d’auteur Secrets d’affaires Académie de l’OMPI Ateliers et séminaires Application des droits de propriété intellectuelle WIPO ALERT Sensibilisation Journée mondiale de la propriété intellectuelle Magazine de l’OMPI Études de cas et exemples de réussite Actualités dans le domaine de la propriété intellectuelle Prix de l’OMPI Entreprises Universités Peuples autochtones Instances judiciaires Ressources génétiques, savoirs traditionnels et expressions culturelles traditionnelles Économie Égalité des genres Santé mondiale Changement climatique Politique en matière de concurrence Objectifs de développement durable Technologies de pointe Applications mobiles Sport Tourisme PATENTSCOPE Analyse de brevets Classification internationale des brevets Programme ARDI – Recherche pour l’innovation Programme ASPI – Information spécialisée en matière de brevets Base de données mondiale sur les marques Madrid Monitor Base de données Article 6ter Express Classification de Nice Classification de Vienne Base de données mondiale sur les dessins et modèles Bulletin des dessins et modèles internationaux Base de données Hague Express Classification de Locarno Base de données Lisbon Express Base de données mondiale sur les marques relative aux indications géographiques Base de données PLUTO sur les variétés végétales Base de données GENIE Traités administrés par l’OMPI WIPO Lex – lois, traités et jugements en matière de propriété intellectuelle Normes de l’OMPI Statistiques de propriété intellectuelle WIPO Pearl (Terminologie) Publications de l’OMPI Profils nationaux Centre de connaissances de l’OMPI Série de rapports de l’OMPI consacrés aux tendances technologiques Indice mondial de l’innovation Rapport sur la propriété intellectuelle dans le monde PCT – Le système international des brevets ePCT Budapest – Le système international de dépôt des micro-organismes Madrid – Le système international des marques eMadrid Article 6ter (armoiries, drapeaux, emblèmes nationaux) La Haye – Le système international des dessins et modèles industriels eHague Lisbonne – Le système d’enregistrement international des indications géographiques eLisbon UPOV PRISMA UPOV e-PVP Administration UPOV e-PVP DUS Exchange Médiation Arbitrage Procédure d’expertise Litiges relatifs aux noms de domaine Accès centralisé aux résultats de la recherche et de l’examen (WIPO CASE) Service d’accès numérique aux documents de priorité (DAS) WIPO Pay Compte courant auprès de l’OMPI Assemblées de l’OMPI Comités permanents Calendrier des réunions WIPO Webcast Documents officiels de l’OMPI Plan d’action de l’OMPI pour le développement Assistance technique Institutions de formation en matière de propriété intellectuelle Mesures d’appui concernant la COVID-19 Stratégies nationales de propriété intellectuelle Assistance en matière d’élaboration des politiques et de formulation de la législation Pôle de coopération Centres d’appui à la technologie et à l’innovation (CATI) Transfert de technologie Programme d’aide aux inventeurs WIPO GREEN Initiative PAT-INFORMED de l’OMPI Consortium pour des livres accessibles L’OMPI pour les créateurs WIPO Translate Speech-to-Text Assistant de classification États membres Observateurs Directeur général Activités par unité administrative Bureaux extérieurs Avis de vacance d’emploi Achats Résultats et budget Rapports financiers Audit et supervision
Arabic English Spanish French Russian Chinese
Lois Traités Jugements Parcourir par ressort juridique

Thaïlande

TH036

Retour

พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘

 Copyright Act (No. 2) B.E. 2558 (2015)

หน้า ๗ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒)

พ.ศ. ๒๕๕๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘

เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ

ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเม่ือพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” “มาตรการทางเทคโนโลยี” และ

“การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” ระหว่างบทนิยามคําว่า “การโฆษณา” และ “พนักงานเจ้าหน้าที่” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“ “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเง่ือนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัส แทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง

“มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือ ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงาน อันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้า ๘ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

“การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้ มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ และมาตรา ๓๒/๓ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“มาตรา ๓๒/๑ การจําหน่ายต้นฉบับหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในต้นฉบับ หรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา ๓๒/๒ การกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ทําหรือได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีลักษณะเป็นการทําซ้ําที่จําเป็นต้องมีสําหรับการนําสําเนามาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือกระบวนการส่งงานอันมีลิขสิทธิ์ทางระบบคอมพิวเตอร์ทํางานได้ตามปกติ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา ๓๒/๓ ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ของ ผู้ให้บริการ เจ้าของลิขสิทธิ์อาจยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อมีคําสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ให้บริการ หมายความว่า (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น

โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ ของบุคคลอื่น

(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น คําร้องตามวรรคหน่ึง ต้องมีรายละเอียดโดยชัดแจ้งซึ่งข้อมูล หลักฐานและคําขอบังคับ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ให้บริการ (๒) งานอันมีลิขสิทธิ์ที่อ้างว่าถูกละเมิดลิขสิทธิ์ (๓) งานท่ีอ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ (๔) กระบวนการสืบทราบ วันและเวลาที่พบการกระทํา และการกระทําหรือพฤติการณ์ ตลอดทั้ง

หลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ (๕) ความเสียหายที่อาจเกิดข้ึนจากการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (๖) คําขอบังคับให้ผู้ให้บริการนํางานที่ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของ

ผู้ให้บริการ หรือระงับการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยวิธีอื่นใด เม่ือศาลได้รับคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลทําการไต่สวน หากศาลเห็นว่าคําร้องมีรายละเอียด

ครบถ้วนตามวรรคสาม และมีเหตุจําเป็นที่ศาลสมควรจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องนั้น ให้ศาลมีคําสั่งให้ ผู้ให้บริการระงับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือนํางานที่อ้างว่าได้ทําข้ึนโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการตามระยะเวลาที่ศาลกําหนด โดยคําสั่งศาลให้บังคับผู้ให้บริการ ได้ทันที แล้วแจ้งคําสั่งนั้นให้ผู้ให้บริการทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ดําเนินคดี ต่อผู้กระทําละเมิดลิขสิทธิ์ภายในระยะเวลาที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือนํางานที่อ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์

หน้า ๙ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

ในกรณีที่ผู้ให้บริการมิใช่ผู้ควบคุม ริเร่ิม หรือสั่งการให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการนั้นได้ดําเนินการตามคําสั่งศาลตามวรรคสี่แล้ว ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิด เก่ียวกับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดข้ึนก่อนศาลมีคําสั่งและหลังจากคําสั่งศาลเป็นอัน สิ้นผลแล้ว

ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามคําสั่งศาลตามวรรคสี่” มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๕๑/๑ นักแสดงย่อมมีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นนักแสดงในการแสดงของตน และมีสิทธิ

ห้ามผู้รับโอนสิทธิของนักแสดงหรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทําโดยประการอื่นใด แก่การแสดงนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือเกียรติคุณของนักแสดง และเม่ือนักแสดงถึงแก่ความตาย ทายาทของนักแสดงมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร”

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๓ ให้นํามาตรา ๓๒ มาตรา ๓๒/๒ มาตรา ๓๒/๓ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่สิทธิของนักแสดงโดยอนุโลม”

มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๓ มาตรา ๕๓/๔ และมาตรา ๕๓/๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“หมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี

มาตรา ๕๓/๑ การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทํานั้น อาจจูงใจให้เกิด ก่อให้เกิด ให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ให้ถือว่าเป็น การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ

มาตรา ๕๓/๒ ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่างานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นได้มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลการบริหารสิทธิ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิด้วย ถ้าได้กระทําการอย่างใด อย่างหน่ึงแก่งานน้ันดังต่อไปนี้

(๑) นําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจําหน่าย (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน มาตรา ๕๓/๓ การกระทําใด ๆ ดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ

หน้า ๑๐ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

(๑) การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การรักษาความม่ันคงแห่งชาติ หรือวัตถุประสงค์อื่นในทํานองเดียวกัน

(๒) การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพสาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร

(๓) การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร

ลักษณะของข้อมูลการบริหารสิทธิตาม (๒) และงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิตาม (๓) ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๓/๔ การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีหรือการให้บริการเพื่อก่อให้เกิดการหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทํานั้นอาจจูงใจหรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิ ของนักแสดง ให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี

มาตรา ๕๓/๕ การกระทําตามมาตรา ๕๓/๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการ ทางเทคโนโลยี

(๑) การกระทํานั้นจําเป็นสําหรับการกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่จําเป็นของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการใช้งานร่วมกับ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น (๓) เพื่อประโยชน์แห่งการวิจัย วิเคราะห์ และหาข้อบกพร่องของเทคโนโลยีการเข้ารหัส

โดยผู้กระทําต้องได้มาซึ่งงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายและได้ใช้ความพยายาม โดยสุจริตในการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว

(๔) เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ ตรวจสอบ หรือแก้ไขระบบความม่ันคงปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ ของระบบคอมพิวเตอร์ หรือของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วแต่กรณี

(๕) เพื่อระงับการทํางานของมาตรการทางเทคโนโลยีในส่วนที่เก่ียวกับการรวบรวมหรือกระจาย ข้อมูลบ่งชี้ส่วนบุคคลที่สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตของผู้ที่ เ ข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการกระทํานั้นต้องไม่กระทบต่อการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยบุคคลอื่น

(๖) การกระทําโดยเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การรักษาความม่ันคงแห่งชาติหรือวัตถุประสงค์อื่นในทํานองเดียวกัน

(๗) การกระทําโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร เพื่อเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยวิธีอื่น”

หน้า ๑๑ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกชื่อหมวด ๖ คดีเก่ียวกับลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“หมวด ๖ คดีเก่ียวกับลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดง

ข้อมูลการบริหารสิทธิ และมาตรการทางเทคโนโลยี”

มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นการกระทํา โดยจงใจหรือมีเจตนาเป็นเหตุให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชน ได้อย่างแพร่หลาย ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ตามวรรคหน่ึง”

มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๖๕/๑ ให้นํามาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดี

เก่ียวกับข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยีโดยอนุโลม” มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๗๐/๑ ผู้ใดกระทําการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตามมาตรา ๕๓/๑ หรือมาตรา ๕๓/๒

หรือละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีตามมาตรา ๕๓/๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหม่ืนบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําเพื่อการค้า ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุก

ตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหม่ืนบาทถึงส่ีแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ” มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้

ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗๕ บรรดาสิ่งที่ได้ทําขึ้นหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

หรือสิทธิของนักแสดง และสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งให้ทําให้สิ่งนั้นใช้ไม่ได้หรือจะสั่งทําลายสิ่งนั้นก็ได้ โดยให้ผู้กระทํา ละเมิดเสียค่าใช้จ่ายในการนั้น”

มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๗๗ ความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐ วรรคหน่ึง และมาตรา ๗๐/๑ วรรคหน่ึง ให้อธิบดีมีอํานาจเปรียบเทียบได้”

หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

มาตรา ๑๔ บรรดาคดีละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่มีการฟ้องคดีอาญาไว้ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงที่สุด ให้นํามาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับสิ่งที่ได้ทําข้ึนหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับน้ี คือ โดยที่ปัจจุบันมีการนําข้อมูลการบริหารสิทธิ และมาตรการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธ์ิหรือสิทธิของนักแสดง สมควรกําหนดให้มี การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี รวมทั้งกําหนดข้อยกเว้นการกระทําละเมิดลิขสิทธ์ิ และสิทธิของนักแสดงเพ่ิมขึ้น อีกทั้งสมควรกําหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้กระทําละเมิดลิขสิทธ์ิหรือสิทธิของนักแสดง ที่ทําให้งานอันมีลิขสิทธ์ิหรือสิทธิของนักแสดงเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย ต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มข้ึน และสมควรกําหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งริบหรือสั่งทําลายสิ่งที่ใช้ในการกระทําความผิดและสิ่งที่ได้ทําข้ึนหรือนําเข้ามา ในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ิหรือสิทธิของนักแสดงได้ด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติน้ี